วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

หน่วยเสียงภาษาไทยโบราณสมัยสุโขทัย

พยัญชนะวรรค
กักเส้นเสียง (glottalized) ไม่ก้อง (voiceless)  ก้อง (voiced)  ไม่ก้อง (voiceless) 

กัก (stop)
เสียดแทรก (fricative)
กัก (stop)
เสียดแทรก (fricative)
กัก (stop)
นาสิก (nasal)
ไม่พ่นลม (unasp.)
พ่นลม (asp)
ไม่พ่นลม (unasp.)
พ่นลม (asp.
/breathy)
เพดานอ่อน (velar)
ก /k/
ข /kʰ/
ฃ /x/
ค /g/
ฅ /ɣ/
/gʱ/
ง /ŋ/
หง /ʰŋ/
เพดานแข็ง (palatal)
จ /c/
ฉ /cʰ/
ช /ɟ/
ซ /z/*
/ɟʱ/
ญ /ɲ/
หญ /ʰɲ/
ม้วนลิ้น (retroflex)
/ᶑ/
/ʈ/
/ʈʰ/
/ɖ/
/ɖʱ/
/ɳ/
หณ /ʰɳ/
ปุ่มเหงือก (alveolar)
ด /ɗ/
ต /t/
ถ /tʰ/
ท /d/
/dʱ/
น /n/
หน /ʰn/
ริมฝีปาก (bilabial)
บ /ɓ/
ป /p/
ผ /pʰ/
ฝ /f/
พ /b/
ฟ /v/
/bʱ/
ม /m/
หม /ʰm/


พยัญชนะอวรรค

กัก (stop)
เปิด (approximant)
รัว (trill)
เปิดข้างลิ้น (lateral approximant)
เสียดแทรก (fricative)
glottalized
voiced
voiceless
voiced
voiceless
voiced
voiceless
เส้นเสียง (glottal)
อ /ʔ/
ห /h/
ม้วนลิ้น (retroflex)
/ɭ/
/ʂ/
เพดานแข็ง (palatal)
อย /ˀj/
ย /j/
หลังเพดานแข็ง (postalveolar)
/ɕ,ʃ/
ปุ่มเหงือก (alveolar)
ร /r/
หร /ʰr/
ล /l/
หล /ʰl/
ส /s/
ริมฝีปาก (bilabial)
ว /w/
หว /ʰw/

    ข้อสังเกต
  1. พยัญชนะวรรค ตามหลักของทางภาษาอินเดีย (บาลี-สันสกฤต) คือพยัญชนะในกลุ่มปิดกั้นลมออกทางปาก (occlusive consonant) อันได้แก่ พยัญชนะเสียงกัก (stops) และเสียงนาสิก (nasals)
    1. ภาษาไทยโบราณมีเสียงบางเสียงที่ไม่มีในภาษาอินเดีย ซึ่งพอพี่ไทยรับอักษรจากอินเดียเขาเข้ามา พบว่ามีเสียงไม่พอใช้ จึงประดิษฐ์อักษรเพิ่ม โดยดัดแปลงจากอักษรเดิมที่มีฐานกรณ์เดียวกัน โดยอักษรนั้นได้แก่ ฃ (ดัดแปลงจาก ข), ฅ (ดัดแปลงจาก ค), ฝ (ดัดแปลงจาก ผ), ฟ (ดัดแปลงจาก พ) และ ซ (ดัดแปลงจาก ช) อักษรกลุ่มที่เพิ่มเข้ามาจะอยู่ใน คอลัมน์ "เสียงเสียดแทรก" ในกลุ่มพยัญชนะวรรค
    2. กรณีของ ซ มาแปลกหน่อย คือจะเห็นว่า ซ ดัดแปลงมาจาก ช (ซึ่งมีหน่วยเสียงเป็น /ɟ/) ถ้าเทียบกับ ข-ฃ, ค-ฃ, ผ-ฝ, พ-ฟ แล้ว ซ ก็ควรจะมีฐานกรณ์เดียวกัน กับ ช แต่เป็นเสียงเสียดแทรกก้องแทน ซึ่งก็คือ /ʝ/ แต่จริงๆ แล้วกลับไม่ใช่ ดันเป็น /z/ แทน... อันนี้ไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้น รบกวนผู้รู้ด้วยครับ
  2. ตารางพยัญชนะวรรคข้างต้นพยายามจัดเรียงให้เป็นไปตามลำดับอักษรไทยมากที่สุด ซึ่งบางทีอาจจะทำให้คอลัมน์บนสุด ที่เป็น manner of articulation และ secondary articulation ดูสับหว่างมั่วๆ ไปบ้าง จะเห็นว่า เดี๋ยวก็ก้อง เดี๋ยวก็ไม่ก้อง แล้วก็กลับมาก้องอีก ว่าไป
    1. สำหรับตารางพยัญชนะอวรรค พยายามคิดหาวิธีจัดเรียงแล้ว แต่ก็จนปัญญาจริงๆ ไม่สามารถเรียงลำดับโดยที่ตารางไม่เละไปได้ ดังนั้นจึงขออนุญาตเรียง place of articulation ไว้ด้านซ้าย เรียงจากในปากออกนอกปาก แบบเดียวกับตารางพยัญชนะวรรคแทน
  3. หน่วยเสียงที่ทำเป็นสีเทาจางๆ ไว้ คือหน่วยเสียงที่จริงๆ แล้ว ไม่ได้มีในภาษาไทยโบราณ เพียงแต่ว่าอาจจะมีในภาษาอินเดีย หรืออาจจะไม่มีก็ได้ แต่ใส่มาให้เต็มๆ ตาราง

โปรแกรม แปลงภาษาไทยเป็นภาษาลู อัตโนมัติ

โปรแกรมแปลงภาษาไทยเป็นภาษาลูอัตโนมัติ มีให้ท่านได้ลองใช้กันแล้ว ที่นี่ โปรแกรมแปลภาษาลู Beta version ...